หากคุณได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานแต่งงานแบบไทยของเพื่อนหรืองานหมั้นหมาย ที่ต้องการสืบทอดมรดกไทยในงานแต่งงานที่สืบทอดกันมายาวนาน โดยทั่วไปแล้วจะมีธรรมเนียมปฏิบัติและประเพณีงานแต่งงานแบบไทยที่คุณควรทราบ

การจัดงานแต่งงานของไทย อาจแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละภูมิภาค การปฏิบัติทางวัฒนธรรมและศาสนาบางอย่างมักพบเห็นได้ทั่วไปในงานแต่งงานทุกงานในประเทศไทยและในระหว่างการสมรสเพื่อเป็นการสืบทอดแก่มรดกไทย และนี่คือประเพณีการแต่งงานแบบไทยที่ควรเรียนรู้

การเลือกวันแต่งงานที่เป็นมงคล

คนไทยเชื่อว่ามีวันและเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนในวันงานสำคัญต่างๆ การเลือกวันแต่งวันก็เช่นเดียวกัน ที่จะต้องเลือกวันที่เป็นมงคล ถือเป็นฤกษ์งามยามดีในการเริ่มต้นชีวิตคู่ โดยส่วนใหญ่มักจะปรึกษาพระภิกษุพิเศษที่มีความรู้ด้านโหราศาสตร์ เพื่อช่วยตัดสินใจว่าวันใดจะดีที่สุดสำหรับการสมรสและการสมรสจะยั่งยืน

การทำบุญ

การทำบุญโดยการรับพรจากพระเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนแต่งงานสำหรับคู่รักแบบไทย ในเช้าวันแต่งงาน เจ้าบ่าวและเจ้าสาวต้องอัญเชิญพระเก้ารูป ซึ่งเลขเก้าเป็นเลขมงคลตามความเชื่อของไทย ไปวางไว้ยังสถานที่ที่จัดพิธี และนำอาหารถวายแด่พระสงฆ์ หลังจากนั้นพระภิกษุจะอวยพรให้คู่บ่าวสาวมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตสมรส

ขบวนขันหมาก

เมื่อทำบุญเสร็จแล้ว เจ้าบ่าวก็จะเคลื่อนขบวนขันหมากเดินทางไปบ้านเจ้าสาว นี่คือจุดเริ่มต้นของขั้นตอนการแห่ขันฟมาก เมื่อเจ้าบ่าวและเพื่อนของเจ้าบ่าวมอบของขวัญให้กับครอบครัวของเจ้าสาว ขบวนจะนำความสนุกสนานมาสู่งานและมีนักดนตรีเล่นกลองยาวแบบดั้งเดิม และญาติพี่น้องฝ่ายเจ้าบ่าวก็จะเซิ้งรำไปที่บ้านของเจ้าสาว

พิธีหมั้น

พิธีหมั้น ถือเป็นพิธีที่สำคัญที่สุดในงานแต่งงานทั้งหมด ซึ่งจะมีพ่อแม่ของทั้งคู่และญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด นั่งอยู่บนโซฟาหรือเก้าอี้ และคู่บ่าวสาวนั่งอยู่ด้านล่าง โดยการนั่งนั้นจะให้ฝ่ายหญิงอยู่ทางซ้าย ส่วนฝ่ายชายนั่งอยู่ทางขวา หลังจากนั้นคู่บ่าวสาว จะแลกเปลี่ยนแหวนหมั้นกัน

สายมงคลหรือพิธีกรรมด้ายขาว

หลังจากการหมั้นเสร็จ ก็มาถึงพิธีกรรม 'สายมงคล' เจ้าสาวและเจ้าบ่าวต้องนั่งหรือคุกเข่าติดกัน แขนของพวกเขาวางอยู่บนโต๊ะบุนวมขนาดเล็กและต้องพนมมือกันในตำแหน่งอธิษฐาน ผู้อาวุโสของครอบครัวที่ถือว่าประสบความสำเร็จในการแต่งงานจะสวมเครื่องประดับศีรษะแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า 'มงคล' ไว้บนศีรษะของทั้งเจ้าสาวและเจ้าบ่าว ที่คาดศีรษะด้วยด้ายสีขาวซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับพรจากพระสงฆ์ ต้องทำจากผ้าฝ้ายผืนเดียว และจะเข้าร่วมกับคู่บ่าวสาวในช่วงที่เหลือของพิธี และเป็นสัญลักษณ์ไปตลอดชีวิต

พิธีรดน้ำสังข์

หลังจากพิธีกรรมด้ายขาวหรือสายมงคล การให้พรในพิธีรดน้ำสังข์จะเป็นขั้นตอนต่อไปของพิธีแต่งงานแบบไทย เจ้าสาวจะนั่งทางซ้ายของเจ้าบ่าวเสมอ ซึ่งจะมีหมอนรองมือ และพานรองรับน้ำสังข์ หลังจากนั้นแขกจะนำหอยสังข์ที่เติมน้ำมนต์จากพิธีทางศาสนามาเทใส่มือของทั้งคู่แล้วอวยพรให้

ต้องยอมรับว่าพิธีการแต่งงานแบบไทยนั้น ถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์และอบอุ่นอย่างเหลือเชื่อ